3


      การเพาะพันธุ์ปลาหมอกลุ่มวางไข่

 

 

 

 

 

การสังเกตเพศ

      ปลาหมอกลุ่มวางไข่ ถ้าสังเกตดีๆ จะดูเพศ ไม่ยากเลย คือ อย่างแรก ให้สังเกต เดือย (ท่อใต้ท้องปลา)ของตัวเมีย รูปทรงของท่อจะอ้วนใหญ่ทู่ๆส่วนตัวผู้จะมีลักษณะที่เล็กปลายจะแหลมวิธีการดูว่าปลาพร้อมที่จะผสมหรือไม่นั้นตัวเมียที่พร้อมวางไข่ ท้องจะอ้วนๆ ตึงๆ และเดือยใต้ท้อง นั้นจะนูนออกมามากกว่า ตอนปกติ รวมถึงพฤติกรรมในการ ขุดหิน ขุดทราย ทำรัง และว่ายไล่ ปลาตัวอื่นๆ ที่ผ่านเข้ามา ในบริเวณ ดังกล่าวส่วนตัวผู้ ที่จะนำมาใช้ในการเพาะพันธุ์ นั้น ควรหาตัวที่มีขนาด ใหญ่กว่าตัวเมีย และ ถ้าหากในการทดลองเพาะพันธุ์ ครั้งแรก หากไข่ปลาไม่ฟัก เป็นตัว ก็ อย่าเพิ่งด่วนสรุป ว่า ตัวผู้ ตัวนั้นๆ เป็นหมัน ต้องลองดูอีก สัก 1-2 คอก ถ้า คอก ที่ 3 แล้ว ยังไม่ติด โอกาส ที่ปลาตัวผู้ นั้นๆ จะเป็นหมัน ก็มีสูง

 

 

 

 

 


การเข้าคู่

      ปลาบางตัวก็เข้าคู่ง่ายๆ ครับ จับโยนใส่ตู้ด้วยกันก็เข้ากันได้เลย แต่บางตัวต้องจับมาแยกช่อง ให้อยู่คนละด้านก่อน สัก 2-3 วัน โดยให้ตัวเมียอยู่ด้านที่ มีกระถาง และรอจนกว่าตัวเมียจะพร้อมที่จะไข่ แล้วก็ลองแยกที่กั้นออกดู ถ้าไม่กัดกัน และช่วยกันขุดกระถางก็เป็นอันว่าเข้าคู่กันเรียบร้อย แต่ถ้ายังกัดกัน ก็ต้องแยกกันก่อน รอให้ตัวเมียนั้นใกล้ที่จะไข่จริงๆ แล้วค่อยทดลอง ปล่อยปลาทั้งสองตัว เข้าหากันอีกที

การเตรียมการ + เพาะพันธุ์

ตู้โล่ง ขนาด 30x18x18 นิ้ว

ถาดรองกระถาง ขนาดใหญ่ๆ 1 ใบ

หัวฟู่ กับ กรองฟองน้ำ

กระดาษสำหรับปิดตู้

ที่กั้นกลางตู้

กรวยใส่ไส้เดือน

ฮีทเตอร์

ยามาลาไคท์กรีน กับ เกลือ

      จัดอุปกรณ์ต่างๆ ที่เตรียมไว้ รวมทั้ง ใส่ตะข่าย ที่กั้นแบ่งครึ่งตู้ เติมน้ำ ใส่เกลือ 1 กำมือ แล้วก็ใส่มาลาไคท์ เพื่อป้องกันโรค ในตู้ควรมี หัวฟู่ 1 อัน (ใช้ก้อนกลม) + ระบบ กรองฟองน้ำเพื่อดักฝุ่นละออง ขี้ปลาต่างๆ ให้วางกระถางสำหรับปลาวางไข่ ไว้ตรงมุมตู้ นอกจากนี้ ให้นำกระดาษมา ปิดด้านนอก ของกระจก ในบริเวณ ดังกล่าว เพื่อกันปลาตกใจฮีทเตอร์ นั้นจริงๆ แล้วไม่ต้องใส่ก็ได้ แต่เพื่อเป็นการป้องกัน ลูกปลา ล้มตาย เพราะอุณหภูมิเปลี่ยน โดยส่วนตัวนั้นผมจะตั้งไว้ที่ 28 องศาครับเมื่อถึงขั้นตอน จับปลาใส่ตู้ ให้ตัวเมียอยู่ด้านที่เราวาง กระถาง นอกจากนี้ ควรสังเกต ว่าตัวเมียขุดรังตรงไหนด้วย หากขุดที่อื่นนอกกระถาง ก็ให้ย้ายกระถางไปตรงบริเวณนั้น ในช่วงนี้ตัวผู้จะคึกมาก จะว่ายไปทั่วแล้วก็จะมีอาการส่ายหัวไปมา จะลองยกที่กั้นออกตั้งแต่วันแรกเลยก็ได้ แต่ต้องนั่งดูไปเรื่อยๆ ถ้าทั้งสองตัวช่วยกันใช้ปากขุดรัง แล้วก็ยังไม่กัดกัน นั้นก็แสดงว่าเข้าคู่กันแล้วครับ ปล่อยไว้ได้เลย

      ในระหว่างเพาะพันธุ์ การให้อาหารนั้นควรให้แต่น้อย พยายามอย่าให้เหลือในช่วงนี้ อย่าให้น้ำขุ่น ไม่ควรให้กุ้งฝอย เป็นๆ เพราะบางครั้ง กุ้งนั้นรอด และอาจจะไปทำอันตรายไข่ได้ครับ ควรให้อาหารเม็ดหรืออย่างอื่นจะดีกว่า นอกจากนี้ ผมชอบให้ หนอนแดง มีพี่เขาบอกมาว่า เป็นการบำรุงเชื้อตัวผู้ครับ ทำให้ฉีดเชื้อดี เมื่อปลาไข่ระหว่าง การเพาะพันธุ์ ถ้าหากปลายังไม่ไข่ สามารถเปลี่ยนน้ำได้ครับ
วิธีดู ไข่ปลาว่าติดไม่ติด

เมื่อปลาวางไข่ แล้ว ควรปล่อยให้ ปลาทั้งคู่ อยู่ด้วยกัน สัก 24 ชม. ก่อน แล้วค่อยแยกตัวผู้ออก เวลาแยก ต้องทำอย่างค่อย อย่ากวนน้ำ อย่าให้ปลาตื่น โดยปกติแล้วตัวเมีย จะดูแลไข่ แต่บางตัวก็กินไข่ จะแยกหรือไม่แยกก็แล้วแต่ครับ โดยปกติ แล้ว ไข่ปลาจะฟักเป็นตัวภายใน 3 วัน

 

 

 

 

 

 

 

ในวันที่ ไข่เริ่มเป็นจุดดำ หรือเป็นเม็ดสาคู ผมนิยมที่จะแยกปลาตัวเมียออก แล้ว ใช้หัวฟู่มาวางใกล้ๆ แทน เมื่อลูกปลาฟักออกจากไข่นั้น ยังไม่สามารถว่ายน้ำได้ ก็จะนอนดิ้นอยู่ในกระถาง หรือ พื้นตู้ บางครั้งจะมีไข่ที่ฝ่อ ถ้ามากก็ให้ยกกระถางออก แล้วก็ใช้มือพัดน้ำ ค่อยๆ นะ ให้ลูกปลาที่อยู่ในกระถางหลุดออกไป แต่ถ้ามีน้อยจะปล่อยไว้ก็ได้ครับ และเมื่อได้ 3-4 วัน ลูกปลาจะเริ่มบิน (ว่ายน้ำ) ยังไม่ต้องให้อาหารครับ ลูกปลาในระยะนี้ จะมีถุงไข่อยู่จะให้ก็เมื่อถุงไข่หมดไปแล้ว คือ ประมาณหลังจากปลาว่ายน้ำได้ 3 วันโดยประมาณ

อาหารลูกปลา

สาหร่าย Spirulina ชนิดผง หาซื้อได้ที่สวน จตุจักร มีเป็นกระปุก ราคาไม่เกิน 50 บาท และมี ที่ขายเป็นขีด ขีดละ 120 บาท ใส่ให้ลูกปลากินแต่ต้องระวังอย่าให้มากเกิน ให้แต่น้อย

อาหารสำหรับลูกปลาพึ่งเกิด จะเป็นผงๆ ครับ ห่อเล็กๆ ไม่เกิน 30 บาท

เต้าหู้ไข่ไก่ หั่น บางๆ ใส่ให้ลูกปลากิน (ผมนิยมอันนี้มาก เพราะจากที่สังเกต มาลูกปลาชอบกิน)

ไข่ไก่ต้ม ใช้แต่ไข่แดง

 

 

 

 

ไรแดง ควรกรองก่อนให้นะครับโดยการใช้กระชอนตาถี่ ร่อนให้แต่ตัวเล็ก หลุดลงตู้ ให้อย่างนี้สัก 3-4 วันก็ให้ตามปกติได้เลย ( อันนี้ก็ดีมากครับ ลูกปลาจะโตไว ถ้าหากไม่ขาดให้เป็นอย่างเดียว จะดีมากหากมีเวลาไปซื้อ )

 

 

 

 

 

เมื่อลูกปลาได้อายุประมาณ 10 วัน หรือ เริ่มตัวโตมีปากที่ใหญ่ขึ้น ก็ให้กินไส้เดือนได้ โดยใส่ไส้เดือนไว้ในกรวยแปะไว้ข้างตู้ ใส่ไว้ให้เต็มกรวย ไส้เดือนนั้นสามารถให้ได้ถึงโต และพวกลูกปลาจะชอบกินมาก ในช่วงนี้พยายามอย่าให้ลูกปลาขาดอาหาร เพราะปลาในช่วงนี้ถ้าอาหารถึงลูกปลาจะโตไวมากครับ

      เรื่องของน้ำในช่วงนี้ ผมลืมบอกไปว่า เมื่อนำตัวเมียออกแล้วให้ลดน้ำสัก 30% น้ำ ในช่วงนี้ก็จะได้กรองฟองน้ำ คอยกรองน้ำอยู่ และเมื่อลูกปลาเริ่มโตขึ้น ก็ให้ค่อยๆ เพิ่มระดับ น้ำ ให้สูงขึ้น ตามความเหมาะสม ในช่วงนี้ไม่ควรเปลี่ยนน้ำ ถ้าหากน้ำเริ่มขุ่นๆ ให้หยิบกรองฟองน้ำขึ้นมาทำความสะอาด แล้วก็ใส่กลับลงไป เมื่อลูกปลาได้ขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร ก็สามารถเริ่ม เปลี่ยนถ่ายน้ำได้ครับ แต่ไม่ควรเปลี่ยนทีเดียว หมดตู้ ลูกปลาจะน็อคน้ำให้เปลี่ยนทีละ 30% หรือ ครึ่งตู้ แล้วก็ใส่มาลาไคท์ สัก 3-4 หยด

      ตู้ทำปลานั้นไม่ควรที่จะมีทรายหิน อยู่ในตู้เพราะช่วงที่ปลาออกจากไข่นั้น ลูกปลาจะมุดพื้นครับ ถ้ามีหินกรวดอยู่ในตู้อาจทำให้ลูกปลาตาย และถ้าลูกปลาโตขึ้น หากมีจำนวนมากแน่นเกินไป ก็ควรที่จะ หาตู้ใส่ลูกปลาเพิ่มนะครับ เนื่องจากหากมีจำนวนมาก จะทำให้การแย่งอาหารกันและการโตจะไม่เท่ากัน กับปัญหาเรื่องน้ำขุ่นมาก ก็ประมาณนี้ครับ เป็นวิธีที่ผมคิดว่าคงจะไม่ยากนะ ทั้งหมดนี้ไม่ใช่สูตรตายตัว สามารถนำไปปรับ แต่ตามความเหมาะสมได้ครับ และก็ขออภัย เพื่อนๆ พี่ๆ มา ณ ที่นี้ด้วยหากผมผิดพลาดประการใดนะครับ


การสังเกตเพศ

การเข้าคู่

ไข่เริ่มเป็นจุดดำ

ไรน้ำจืดสำหรับลูกปลาแรกเกิด

ไรแดง